วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติ 7 – ELEVEN ในประเทศไทย


ประวัติ 7 – ELEVEN ในประเทศไทย

สุริยะ  ประดับสมุทร และคณะ (2541 : 34 – 37) ได้กล่าวเกี่ยวกับประวัติ 7 – ELEVEN
ไว้ว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซี.พี. คือกลุ่มที่กล้าคิดและกล้าเสี่ยงกับเทคโนโลยีใหม่ๆ จากสหรัฐอเมริกาหลังจากที่ได้ศึกษาข้อมูลและดูงานกิจการค้าปลีกหลายๆ รูปแบบจนกระทั่งมั่นใจว่า “เซเว่น อีเลฟเว่น” คือธุรกิจคอนวีเนียนซ์สโตร์ที่มีสาขามากที่สุดในโลก และมีระบบเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในโลกโดยดูพื้นฐานความสำเร็จจากสิ่งที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นเป็นต้นแบบ สำหรับประยุกต์แนวทางจากต้นตำรับคือสหรัฐอเมริกา
อาจจะดูแปลกที่ “ซี.พี.”กลุ่มธุรกิจเจ้ายุทธจักรในด้านการเกษตรกันมาสนใจและมุ่งมั่นที่จะกระโดดข้ามมา   ลงทุนในธุรกิจค้าปลีกในหน่วยย่อย แบบคอนวีเนียนซ์สโตร์ ทั้งๆ ที่ ซี.พี. ไม่เคยมีประสบการณ์ในธุรกิจลักษณะเดียวกันนี้มาก่อนและแม้แต่น้อยแต่ขณะเดียวกันก็ดูจะไม่แปลกเลยเหมือนกันที่เจ้าของผลิตภัณฑ์การเกษตรระดับแนวหน้าของเมืองไทยที่ได้ประสบกับความสำเร็จและมีความพร้อมมากที่สุด ทั้งในแง่ของทุน บุคลากร การจัดการจะกล้าตัดสินใจเข้ามาเริ่มต้นกับธุรกิจใหม่ล่าสุด
นี่มิใช่แค่การกระโดดข้ามเพื่อบุกเบิกธุรกิจแขนงใหม่ หรือที่เรียกว่า Diversifyของ ซี.พี.เพราะนับจากต้นตระกูล “เจียรวนนท์” จากแผ่นดินจีนเดินทางเข้ามาปักหลักในประเทศไทย เริ่มก้าวแรก  ด้วยการเปิดร้าน “เจียไต้จึง” ขาเมล็ดพันธุ์ผัก ปุ๋ย และอุปกรณ์การเกษตรเมื่อปี 2464 พวกเขา ผ่านก้าวกระโดดมาครั้งแล้วครั้งเล่า เข้าสู่ธุรกิจการค้าอาหารสัตว์ ยาสัตว์ และขยายผลทั้งในลักษณะ   การรวมกิจการไปข้างหน้าและถอยหลัง ตามศัพท์ภาษาอังกฤษที่ว่า Forward Integration และ      Back ward Integration ครอบคลุมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงหมู ไก่ เป็ด ตั้งแต่ การขยายพันธุ์ อาหาร ฟาร์มเพาะเลี้ยง โรงฆ่า โรงงานแปรรูป ไปจนกระทั่งส่งออกอาหารแปรรูปโยงใย กับตลาดโลกและการค้าระหว่างประเทศครบวงจร
ต่อมา ซี.พี. ก็อาศัยประสบการณ์ในธุรกิจการค้าปุ๋ย เคมีภัณฑ์ กระโดดเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมการผลิตเต็มตัว แล้วขยายต่อไปจนกระทั่งมีสาขาของอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่ติดอันดับสูงสุดของเมืองไทย
ในช่วงทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา อาณาจักรซี.พี.หรือที่รู้จักกันมาในนามเครือเจริญโภคภัณฑ์ แตกแขนงธุรกิจออกไปสู่วิถีทางใหม่ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการเงินพัฒนาใน  ด้านอสังหาริมทรัพย์รวมทั้งการขู่ธุรกิจโทรคมนาคมด้วยการคว้าสัมปทานโครงการขยายโทรศัพท์ 2 ล้านเลขหมายกลายเป็นยักษ์ใหญ่ในธุรกิจนี้ภายในพริบตา
ในธุรกิจค้าปลีกก็เช่นกัน การเริ่มต้นจากจุดเกๆ ในธุรกิจไก่สด ซี.พี.พัฒนาต่อมาเป็นไก่ย่าง 5 ดาว ซี.พี.      ก้าวกระโดดเข้าสู่ช่องทางการค้าปลีกได้อย่างรวดเร็วแม้ว่ากรณีของซันนี่ซูเปอร์มาร์เก็ตจะไม่แสดงผลแห่งความสำเร็จชัดเจนนัก แต่ได้สั่งสมประสบการณ์มาพอสมควร นั่นคือมากพอที่จะไม่ผิดพลาดอีก   เมื่อตัดสินใจลงทุนเปิด แม็คโคร จนกลายศูนย์ค้าส่งหมายเลข 1 ในเมืองไทยและในระยะเลาไล่เลี่ยกันตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์กิจการค้าปลีกแบบคอนวีเนียนซ์สโตร์ชื่อ "เซเว่น อีเลฟเว่น” จากยริษัท เซาธ์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531
รูปแบบเทคโนโลยี ตลอดจนระบบการบริหารร้านค้าปลีกคอนวีเนียนซ์สโตร์ ที่ประสบความสำเร็จเป็นอันดับ 1 ในอเมริกา พิสูจน์คุณภาพมาตรฐานมาแล้วทั่วโลก สร้างตำนานเหนือกิจการค้าปลีกในญี่ปุ่นให้เป็นที่ประจักษ์จึงมีโอกาสได้แจ้งเกิดในเมืองไทยโดยเป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรซี.พี. กลุ่มธุรกิจเอกชนที่ยิ่งใหญ่ และเข้มแข็งมากที่สุดในเมืองไทย
การผนวกกันระหว่างกลุ่มธุรกิจเจ้าของทุนประสบการณ์ชั้นแนวหน้า อย่าง ซี.พี. กับ เซาธ์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น เจ้าของกิจการการค้าปลีกหมายเลข 1 ของโลก ทั้งหมดนั้นคงจะไม่เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด    ถ้าไม่มีคนชื่อ “ธนินท์  เจียรวนนท์” แม่ทัพใหญ่แห่งอาณาจักร ซี.พี.